เมนู

ทราบความปรารถนาความฟุ้งซ่านในภายนอกโดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยหิ
คือด้วยอุปกิเลสเหล่าใด. บทว่า วิกมฺปมานสฺส ผู้หวั่นไหว คือผู้ฟุ้งซ่าน
ถึงความฟุ้งซ่าน.
บทว่า โน เจ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ถ้าจิตไม่หลุดพ้น คือจิตไม่น้อมไป
ในอารมณ์อันเป็นอัสสาสปัสสาสะ และไม่หลุดพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก. พึง
ทราบการเชื่อมว่า จิตไม่หลุดพ้น และให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น. บทว่า วิโมกฺขํ
อปฺปชานนฺตา
ไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ คือผู้นั้นหรือผู้อื่นไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ อัน
เป็นความพอใจแห่งอารมณ์ และซึ่งวิโมกข์อันเป็นความพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก
อย่างนี้. บทว่า ปรปตฺติยา คือมีคนอื่นเป็นปัจจัย เชื่อคนอื่น ไม่มีญาณ
ที่ประจักษ์แก่ตน เมื่อควรกล่าวว่า ปรปจฺจยิกา ท่านกล่าว ปรปตฺติยา.
ความอย่างเดียวกัน.
จบปฐมฉักกะ

ทุติยฉักกะ (ฉักกะที่ 2)


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า นิมิตฺตํ ที่สัมผัส
แห่งลมหายใจเข้าและหายใจออก. เพราะอัสสาสปัสสาสะกระทบดั้งจมูกของผู้
มีจมูกยาว กระทบริมฝีปากบนของผู้มีจมูกสั้น. ถ้าพระโยคาวจรนี้คำนึงถึง
นิมิตนั้น จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิตนั้น ย่อมกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหาย-
ใจเข้า คือไม่ตั้งอยู่ได้. เมื่อจิตของพระโยคาวจรนั้นไม่ตั้งอยู่ ความกวัดแกว่ง
นั้นเป็นอันตรายของสมาธิ เพราะไม่มีสมาธิ. หากว่า คำนึงถึงอัสสาสะอย่าง
เดียว จิตของพระโยคาวจรนั้นย่อมนำมาซึ่งความฟุ้งซ่านด้วยการเข้าไปในภาย

ใน จิตไม่ตั้งอยู่ในนิมิต. เพราะฉะนั้น จิตย่อมกวัดแกว่งในนิมิต โดยนัย
นี้พึงทำการประกอบแม้ในบทที่เหลือ. บทว่า วิกมฺปติ ในคาถาทั้งหลาย
ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน คือถึงความฟุ้งซ่าน.
จบทุติยฉักกะ

ตติยฉักกะ (ฉักกะที่ 3)


พึงทราบวินิจฉัยในตติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า อตีตานุธาวนํ จิตฺตํ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ คือจิตที่ไปตามอัสสาสะ หรือปัสสาสะอันล่วงเลย
ที่สัมผัสไป.
บทว่า วิกฺเขปานุปติตํ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามด้วยความ
ฟุ้งซ่าน หรือตกไป คือไปตามความฟุ้งซ่านเอง. บทว่า อนาคตปฏิกงฺขณํ
จิตฺตํ
จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ คือจิตที่ปรารถนา คือหวังอัสสาสะหรือ
ปัสสาสะอันยังไม่ถึงที่สัมผัส. บทว่า วิกมฺปิตํ หวั่นไหว คือหวั่นไหวด้วย
ความฟุ้งซ่านอันไม่ตั้งอยู่ในอัสสาสะและปัสสาสะนั้น. บทว่า ลีนํ จิตหดหู่
คือจิตท้อแท้ด้วยความเพียรอันย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น. บทว่า โกสชฺชานุ-
ปติตํ
จิตตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน คือไปตามความเกียจคร้าน. บทว่า อติป-
คฺคหตํ
จิตที่ประคองไว้จัด คือจิตที่มีความอุตสาหะจัดด้วยปรารภความเพียร
จัด. บทว่า อุทฺธจฺจานุปติตํ จิตตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามความ
ฟุ้งซ่าน. บทว่า อภินตํ จิตที่น้อมเกินไป คือจิตที่น้อมไปยิ่ง คือติดอยู่ใน
วัตถุแห่งอัสสาสะทั้งหลาย. บทว่า อปนตํ จิตที่ไม่น้อมไป คือจิตกระทบใน
วัตถุแห่งความไม่ยินดี หรือจิตปราศจากวัตถุแห่งความยินดีนั้น หรือยังไม่
ปราศจากไป ความว่า ไม่ปราศจากไปจากวัตถุนั้น. บทว่า ราคานุปตตํ